ภาษีที่ดินปี 2565 พ่นพิษ ชงรัฐลดภาษี 90%

ภาษีที่ดินปี 2565 พ่นพิษ ชงรัฐลดภาษี 90%

ภาษีที่ดินปี 2565 พ่นพิษ 3 สมาคมอสังหาฯ – ภาคีภูมิภาค 15 จังหวัด – บิ๊กเนม ผนึกกำลัง ขีดเส้นเดือน พ.ค. รวมสารพัดปัญหา ชงรัฐลดภาษี90% ออกไปจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี2565 ส่งผลกระทบต่อ ผู้ประกอบการ ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมากจากนโยบายกระทรวงการคลัง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เรียกชำระภาษีในอัตราเต็ม100% แม้สถานการณ์โควิดอยู่ในช่วงขาลง แต่เงินในกระเป๋าผู้ประกอบการผู้ซื้อยังไม่กลับคืนมา เป็นปกติ ในปัจจุบันทันทีเนื่องจากโควิดเป็นสาเหตุให้การขายชะลอตัวลงปิดการขายไม่ทันภายใน3ปีนับจากได้รับใบอนุญาต ทำให้เกิดสต็อกจำนวนมากตามมาและเป็นส่วนที่ต้องแบกรับภาษีที่ดินในอัตราพาณิชย์ ขณะการจัดเก็บรายได้ของอปท.จากภาษีที่ดินยังคงดำเนินต่อไปตามกฎหมายกำหนดชำระภายในเดือนเมษายน แต่มีบางท้องถิ่นที่ขยายเวลาออกไปโดยเฉพาะเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดขยายออกไปถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม จากก่อนหน้านี้ขยายเวลาชะระภาษีถึงวันที่ 30มิถุนายน 2565 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนชะลอการจ่ายเงินในกระเป๋า และการประเมินราคามูลค่าทรัพย์หลายสำนักงานเขตยังไม่เรียบร้อย ขณะ นายมีศักดิ์  ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า ในเดือนพฤษภาคมนี้สมาคมจะประชุมสมาชิกและภาคีในภูมิภาค 15 จังหวัด เพื่อรวบรวมผลกระทบการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอัตรา100% เสนอให้กระทรวงการคลังและนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาขยายเวลาลด 90% หรือเก็บแบบขั้นบันไดอีกครั้ง Read more…

ภาคอสังหาฯฟื้น ตรึงดอกเบี้ย ดันสินเชื่อธอส.พุ่ง

ภาคอสังหาฯฟื้น ตรึงดอกเบี้ย ดันสินเชื่อธอส.พุ่ง

“อาคม” ตรึงดอกเบี้ย บ้าน 1 ปี หลังเห็นสัญญาณภาคอสังหาฯฟื้นตัว ธอส.รับลูกสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ มั่นใจปีนี้ปล่อยสินเชื่อได้กว่า 2.7 แสนล้านบาท ภาคเอกชนตีปีก ความต้องการที่อยู่อาศัยกลับมาแน่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวปาฐกถาพิเศษ “Property Outlook 2022” ในงานสัมมนา Property Focus 2022 : Mega Trend อสังหาฯ รับ New Normalจัดโดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ โดยระบุว่าขณะนี้ได้เริ่มเห็นสัญญาณที่ชัดเจนของภาคอสังหาฯมากขึ้น จากยอดขออนุญาตการจัดสรรที่ดินและการก่อสร้างที่เริ่มมีมากขึ้น ขณะที่ความต้องการที่อยู่อาศัย พบว่ามีความต้องการใกล้เคียงกับซัพพลาย ยังไม่เห็นภาวะโอเว่อร์ซัพพลายของภาคอสังหาริมทรัพย์ จึงมองว่ายอดสินเชื่อใหม่จะมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องไปถึงปี 2566 อย่างแน่นอน ซึ่งภาคอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจตัวหนึ่งว่า เศรษฐกิจจะฟื้นหรือไม่ เพราะเมื่อภาคอสังหาฯฟื้นตัวอื่นก็จะฟื้นตามมา ช่วงที่ผ่านมาจะพบว่าการปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างดี เนื่องจากทิศทางดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ลูกค้าระดับรายได้ปานกลาง หันมาใช้สินเชื่อของ ธอส. มากขึ้น พร้อมย้ำว่า จากพันธกิจของ ธอส. ที่ต้องการให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยของตนเอง จึงมีนโยบายให้ตรึงอัตราดอกเบี้ยให้นานที่สุด Read more…

thThai