ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ตามกฎหมายคณะสงฆ์ของประเทศไทย
ประเภทอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายคณะสงฆ์ของประเทศไทย บทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้มีการแบ่งประเภทที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ (1) ที่วัด หมายถึงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อันเป็นที่ตั้งของวัดตลอดจนขอบเขตของวัดนั้นและเป็นที่ชึ่งมีที่ตั้งของวัดหนึ่งวัดใดเป็นการเฉพาะ (2) ที่ธรณีสงฆ์ หมายถึงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสมบัติของวัดแต่ไม่ใช่ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของวัด เช่นที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้อุทิศให้แก่วัดใดวัดหนึ่งเป็นการเฉพาะจึงถือได้ว่าเป็นสมบัติของวัดนอกจากนี้ใครจะยึดครองหรือโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ (3) ที่กัลปนา หมายถึงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้เฉพาะแต่ผลประโยชน์ให้กับวัดหรือพระพุทธศาสนา ที่กัลปนาจึงไม่ถือว่าเป็นที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์สินของวัดเป็นได้แต่เฉพาะให้วัดหรือพระพุทธศาสนาได้รับเพียงประโยชน์จากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นแต่ถ้าหากภายหลังเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้มีการอุทิศยกที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นให้กับวัดแล้ว ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นจะกลายเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทันที (4) ที่ศาสนสมบัติกลาง หมายถึงทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์ของพระพุทธศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่นวัดที่ถูกยุบไปแล้วที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นจะกลายเป็นศาสนสมบัติกลาง จากประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวข้างต้นแล้วมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง ดังนี้ ฎีกาที่ 966/2474 ที่วัดร้างนั้น แม้ผู้ใดจะเข้าถืออำนาจปกครองมานานตั้ง 20 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์อัยการมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกเข้าปกครองที่วัดร้างได้ ฎีกาที่ 986/2474 ที่ดินซึ่งวัดได้ปกครองมาช้านาน โดยไม่ปรากฏว่าได้มาทางจับจองหรือมีบุคคลอุทิศให้ ดังนี้ สันนิษฐานว่า ที่นั้นเป็นที่ธรณีสงฆ์ ที่ธรณีสงฆ์ของวัดนั้น ท่านว่าผู้หนึ่งผู้ใดจะอ้างอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หาได้ไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกธรณีสงฆ์แทนวัดได้ ฎีกาที่ 1253/2481 วัดเป็นนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. Read more…