'PropertyGuru' จัดงานใหญ่ เปิดฉากฟื้นอสังหาฯไทย

PropertyGuru จัดงานใหญ่ เปิดฉากฟื้นอสังหาฯไทย

เตรียมจัดยิ่งใหญ่ “PropertyGuru Thailand Property Awards ครั้งที่ 17” ก้าวสำคัญของตลาดอสังหาฯ ไทยมุ่งสู่การฟื้นตัว 9 มีนาคม 2565 – นางสุพินท์ มีชูชีพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล พร็อพเพอร์ตี้กูรู ไทยแลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ อวอร์ดส์ กล่าวว่า บริษัทฯ ได้อยู่เคียงข้างตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยมากว่า 30 ปี ผ่านความท้าทายและโอกาสต่าง ๆ มากมาย ไม่เว้นแม้แต่ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน โดยในปีนี้มีการคาดการณ์ถึงอุปทานใหม่จะเข้าสู่ตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงต้นปี 2565 จากที่มีการชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ มองว่าแนวโน้มการเดินทางต่างประเทศทั้งเพื่อท่องเที่ยวและทำงานเริ่มกำลังกลับมาดีขี้นอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนและนักพัฒนาที่เริ่มกลับมาเช่นกัน “ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยกำลังกลับมาฟื้นตัว ซึ่งเห็นได้จากความต้องการของกลุ่มรียลดีมานต์ที่เป็นผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง และความต้องการที่ยังมีอยู่จะเป็นตัวผลักดันให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า” ด้าน นางกมลภัทร Read more…

10 อันดับ อสังหาฯ เมืองไทย เปิด 'โครงการใหม่' สูงสุด

10 อันดับ อสังหาฯ เมืองไทย เปิด ‘โครงการใหม่’ สูงสุด

10 บริษัทอสังหาฯ เมืองไทย เปิดตัวโครงการใหม่สูงสุด ปี 2565 เดินเกม ดัน ‘ตลาดที่อยู่อาศัย’ ฟื้นตัว ขณะ บมจ.เอพี ขึ้นแท่นอันดับ 1 ผุดใหม่มูลค่าสูงสุดในอุตสาหกรรม ที่ 7.8 หมื่นล้าน รองลงมา แสนสิริ ,โนเบิล ,ออริจิ้น และ ศุภาลัย 4 มีนาคม 2565 – จับทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ปี 2565 เปิด 10 อันดับผู้พัฒนาฯ โครงการที่อยู่อาศัย ลุงเปิดโครงการใหม่สูงที่สุด ขณะศูนย์ข้อมูลประเมินตลาดอสังหาฯ กทม.-ปริมณฑลปีนี้  เปิดตัวโครงการพุ่ง 1 เท่าตัว จากปีก่อนหน้าที่มีการการเปิดตัวใหม่แค่ 46,602 ยูนิต ซึ่งต่ำสุดในรอบ 11ปี มาอยู่ที่  81,126 ยูนิต สอดคล้อง  “ลุมพินี วิสดอม” Read more…

ประเภทอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายคณะสงฆ์ของประเทศไทย

ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ตามกฎหมายคณะสงฆ์ของประเทศไทย

ประเภทอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายคณะสงฆ์ของประเทศไทย บทบัญญัติของกฎหมายตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ได้มีการแบ่งประเภทที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ (1) ที่วัด หมายถึงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อันเป็นที่ตั้งของวัดตลอดจนขอบเขตของวัดนั้นและเป็นที่ชึ่งมีที่ตั้งของวัดหนึ่งวัดใดเป็นการเฉพาะ (2) ที่ธรณีสงฆ์ หมายถึงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสมบัติของวัดแต่ไม่ใช่ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของวัด เช่นที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้อุทิศให้แก่วัดใดวัดหนึ่งเป็นการเฉพาะจึงถือได้ว่าเป็นสมบัติของวัดนอกจากนี้ใครจะยึดครองหรือโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ (3) ที่กัลปนา หมายถึงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้เฉพาะแต่ผลประโยชน์ให้กับวัดหรือพระพุทธศาสนา ที่กัลปนาจึงไม่ถือว่าเป็นที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์สินของวัดเป็นได้แต่เฉพาะให้วัดหรือพระพุทธศาสนาได้รับเพียงประโยชน์จากที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นแต่ถ้าหากภายหลังเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้มีการอุทิศยกที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นให้กับวัดแล้ว ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นจะกลายเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทันที (4) ที่ศาสนสมบัติกลาง หมายถึงทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์ของพระพุทธศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่นวัดที่ถูกยุบไปแล้วที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นจะกลายเป็นศาสนสมบัติกลาง จากประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่กล่าวข้างต้นแล้วมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง ดังนี้ ฎีกาที่ 966/2474 ที่วัดร้างนั้น แม้ผู้ใดจะเข้าถืออำนาจปกครองมานานตั้ง 20 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์อัยการมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกเข้าปกครองที่วัดร้างได้ ฎีกาที่ 986/2474 ที่ดินซึ่งวัดได้ปกครองมาช้านาน โดยไม่ปรากฏว่าได้มาทางจับจองหรือมีบุคคลอุทิศให้ ดังนี้ สันนิษฐานว่า ที่นั้นเป็นที่ธรณีสงฆ์ ที่ธรณีสงฆ์ของวัดนั้น ท่านว่าผู้หนึ่งผู้ใดจะอ้างอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หาได้ไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกธรณีสงฆ์แทนวัดได้ ฎีกาที่ 1253/2481 วัดเป็นนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. Read more…

อสังหาริมทรัพย์และการขายทอดตลาด

อสังหาริมทรัพย์และการขายทอดตลาดของประเทศไทย

อสังหาริมทรัพย์และ การขายทอดตลาด จากหน่วยบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย ในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ประกอบไปด้วย   1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 4. กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง 5. กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม     นอกจากนี้ยังมีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่รับทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์จากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นเพื่อนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์มาบริหารจัดการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่อมาสิ่งที่เกิดคำถามว่าทำไมประชาชนบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ถึงต้องถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้มารบกวนสิทธิได้ คำตอบคือ เพราะเหตุที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครองกระทำฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎหมายได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานตามกฎหมายมีอำนาจในการเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครองของบุคคลนั้นได้ ดังนี้ 1. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยบังคับใช้กฎหมายกับอสังหาริมทรัพย์จากบุคคลผู้กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการร่ำรวยผิดปกติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เมื่อเจ้าพนักงานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ยึดอสังหาริมทรัพย์ของผู้กระทำผิดแล้ว ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้อสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว จะต้องนำอสังหาริมทรัพย์นั้นส่งให้กับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังต่อไป 2. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกับอสังหาริมทรัพย์ของผู้กระทำผิดมูลฐานหรือผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์และเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้หรือใช้ในการกระทำความผิดมูลฐานหรือกระทำผิดฐานฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ยึดทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ของผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือกระทำความผิดฐานฟอกเงินหรืออสังหาริมทรัพย์ของผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์แล้วต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดินแล้ว จะต้องส่งอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ยึดให้กับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ต่อไป 3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ซึ่งต่อมาหากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว Read more…

อสังหาริมทรัพย์ภาครัฐ และอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนของประเทศไทย

อสังหาริมทรัพย์ภาครัฐ และอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนของประเทศไทย

คำว่า”อสังหาริมทรัพย ”ที่เป็น”ที่ดิน”ในประเทศไทยมีการจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ที่ดินภาครัฐและที่ดินภาคเอกชน อสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินภาครัฐ หมายถึงอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินที่ภาครัฐเป็นเจ้าของและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยมีกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานภาครัฐเป็นการเฉพาะในการกำกับดูแลรักษา ดังต่อไปนี้ 1. ที่ป่าไม้ มีหน่วยงานรับผิดชอบและมีอำนาจดูแลคือกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจดูแลพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 2.ที่อุทยานแห่งชาติ มีหน่วยงานรับผิดชอบและมีอำนาจดูแล คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กนะทรงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2546 พระราชบัญญัติงาช้าง 2558 3.ที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ที่ ส.ป.ก.) มีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 4.ที่นิคมสร้างตนเอง มีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. Read more…

อสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของประเทศไทย

อสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของประเทศไทย

อสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของประเทศไทย   ความหมายอสังหาริมทรัพย์ มีดังนี้ ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น บ้าน ตึก คอนโดมิเนียม กำแพง รั้ว ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย ตลอดจนแร่ธาตุๆที่อยู่บนที่ดิน   นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดหลักการครอบครองและกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ไว้ดังนี้ หากบุคคลมีชื่อทางทะเบียนที่ดินให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง หากบุคคลใดครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์   เนื้อหาบทความ โดย ดร.สุนทรา พลไตร   ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ กฏหมายเกี่ยวกับอสังหาฯ สำนักอบรมกฎหมายและคณะนิติศาสตร์ หลักสูตรอบรม เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

thThai