มาตรการในการดำเนินคดีกับผู้กระทาความผดิฐานทุจริตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน
The Measurement in Pursuing a Legal Action against an Offender for Committing Malfeasance in Office Conforming to the Anti-money Laundering Act
ในสภาวะปัจจุบันการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงกระทาความผิดกฎหมายเกี่ยวกับ “การทุจริต” ที่มีโครงสร้างการกระทาความผิดเป็นลักษณะร่วมกันกระทาเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน และมีวิธีการกระทาความผิดที่มีการพัฒนาทำให้ยากในการดาเนินการปราบปรามประกอบกับกลุ่มผู้กระทำความผิดที่มีทั้งอิทธิพลทางการเงินและทางการเมืองสูงเพื่อให้ได้เงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิดฐานทุจริตนั้นมากระทำการในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการฟอกเงิน หรือเพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดฐานทุจริตไปใช้เป็นประโยชน์ในการกระทาความผิดต่อไปได้อีก รวมทั้งเพื่อปกปิดอาพรางการกระทำผิดของตน ทำให้ยากต่อการปราบปรามการกระทาความผิดมากขึ้น
กฎหมายฟอกเงินหรือพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ.๒๕๔๒ คือกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันและตอบโจทย์ในการปราบปรามการทุจริตอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวการทุจริตในหลายๆคดี เช่นคดีทุจริตจานาข้าว คดีทุจริตเงินทอนวัด คดีทุจริตคลองด่าน คดีทุจริตเงินคนจน คดีทุจริตเงินซื้อยากาจัด ศัตรูพืช เป็นต้น การบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินสามารถดาเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจะทาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยอาศัยกฎหมาย ฟอกเงินเพียงอย่างเดียวหาอาจทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอไม่ ผู้เขียนเห็นว่าการหามาตรการ ในการดาเนินคดีกับผู้กระทาผิดฐานทุจริตซึ่งเป็นคดีมูลฐานตามมาตรา๓(๕)แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องหาหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มาบูรณาการทางานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการนาหลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ การปฏิบัติ ตามกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งรวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ทำตามอาเภอใจและหลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ การให้โอกาสบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ รวมทั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็น เพื่อรับคำแนะนำมาร่วมวางแผนและปฏิบัติงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ หลักการมีส่วนร่วมจะช่วยประสานความคิดเห็นรวมทั้งการนาทฤษฎีการปฏิบัติการของปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) เกี่ยวกับการสร้างยุทธศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐไปสู่ยุทธศาสตร์ของการดำเนินการตามมาตรการทางแพ่งและมาตรการทางอาญาตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินร่วมกับหน่วยบังคับใช้กฎหมายต่างๆ โดยหากมีการดำเนินการวางระบบบูรณาการมาบังคับใช้กฎหมายที่มีการลดขั้นตอน การประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลทางคดีร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินรวมทั้งกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
เพื่อทำให้การยึดหรืออายัดทรัพย์ที่เกี่ยวกับการกระทำผิดให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือคืนทรัพย์ให้กับผู้เสียหาย และการดาเนินคดีอาญาฟอกเงินกับผู้กระทาผิดฐานฟอกเงินได้อย่างทันท่วงที
มาตรการในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดฐานทุจริตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินจะทาให้เกิดผลการดำเนินคดีที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลต้องมีการดำเนินคดี กับผู้กระทาผิดมูลฐานใน 3 มิติ ซึ่งแต่ละมิติการดำเนินการมีพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีของแต่ละหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีเป็นหลักอยู่แล้ว หากการทำงานของแต่ละหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เข้าใจในบริบทการทำงานของแต่ละหน่วยงานและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางคดีเพื่อดำเนินคดีควบคู่กันไปทั้ง 3 มิติ แล้วจะทำให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันบังคับใช้กฎหมายได้เป็นอย่างดียิ่งในรูปแบบการการดำเนินคดี 3 มิติ ดังนี้
คดีมิติที่ 1 คดีอาญาหลักหรือคดีมูลฐาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการดำเนินการคดี คือ พนักงานสอบสวน สานักงานตารวจแห่งชาติ หรือ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สานักงานป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สานักงาน ป.ป.ท. แล้วส่งเรื่อง ไปให้พนักงานอัยการ สานักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอานาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
คดีมิติที่ 2 มาตรการทางแพ่ง คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาผิดหรือได้มาจากการกระทำผิดให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือคืนให้กับผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการธุรกรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แล้วส่งเรื่องให้พนักงานอัยการ สานักงานอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งมีคาสั่งให้ทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัด ตกเป็นของแผ่นดินหรือคืนให้กับผู้เสียหายต่อไป
คดีมิติที่ 3 มาตรการทางอาญา คือการดาเนินคดีอาญาฟอกเงิน ตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน คดีอาญาฟอกเงินเป็นความผิดต่อแผ่นดิน ทั้งพนักงานสอบสวนหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือผู้เสียหายมีอำนาจในการร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวนที่อยู่พื้นที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วมีความเห็นสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งสานวน ให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาและพิพากษาคดีอาญา ตามเขตอานาจศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือต่อศาลอาญากรณีเป็นคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติคดีพิเศษ หรือต่อศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลางและต่อศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบภาคแล้วแต่กรณี เฉพาะที่ความผิดฐานฟอกเงินมาจากมูลฐานทุจริต
ดร.สุนทรา พลไตร
0 Comments